arduino mega 2560 การใช้งาน
การใช้งานบอร์ด Arduino MEGA 2560
บอร์ดที่นิยมใช้งานมากที่สุดในบรรดาบอร์ดของ Arduino คงหนีไม่พ้น บอร์ด Arduino UNO แต่สำหรับ ลุงเมกเกอร์ แล้ว ขอแนะนำให้เลือกเป็นบอร์ด Arduino MEGA 2560 ไปเลยดีกว่า เผื่อในอนาคตเมื่อต้องการทำงานโครงงานที่ใหญ่ขึ้น จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องความไม่เพียงพอของจำนวนขา ที่ต้องการใช้งาน เช่น ขา อินพุท / เอาท์พุท และ ขาแหล่งจ่ายไฟ 5V เป็นต้น
เปรียบเทียบระหว่าง Arduino UNO กับ Arduino MEGA
Arduino MEGA คือ บอร์ดรุ่นใหญ่ในกลุ่มบอร์ด Arduino โดยใช้ Atmega2560 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์หลัก ซึ่งไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนี้แตกต่างจาก ATmega328 ที่ใช้อยู่กับ บอร์ด Arduino UNO โดย Arduino MEGA มี Digital Pins ขา อินพุต / เอาท์พุต ดิจิตอล จำนวน 54 ขา (เป็น PWM ได้ 15 ขา) มี Analog Input 16 ขา
Serial UART 4 ชุด I2C 1 ชุด SPI 1 ชุด และขาแหล่งจ่ายไฟ 5V จำนวน 3 ขา สามารถเขียนโปรแกรมบน Arduino IDE และโปรแกรมผ่าน USB เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเริ่มต้นเรียนรู้การพัฒนาไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ต้องการบอร์ด Arduino ที่มีหน่วยความจำและขาสัญญาณต่างๆ ให้ต่อใช้งานมากขึ้น
arduino mega 2560 การใช้งาน
คุณสมบัติ Arduino MEGA:
- ไมโครคอนโทรลเลอร์ : Atmega2560
- แรงดันไฟฟ้า: 5 โวลต์
- แรงดันไฟฟ้าอินพุตที่แจ็ค SOURCE : 7 ถึง 12 โวลต์
- Digital I / O Pins: 54 พิน
- ขาอินพุตแบบอะนาล็อก: 16
- กระแส DC ต่อ I / O Pin: 20 mA
- กระแสตรงสำหรับ 3.3V Pin: 50 mA
- หน่วยความจำแฟลช: 256 KB
- SRAM: 8 KB
- EEPROM: 4 KB
- ความเร็วสัญญาณนาฬิกา: 16 MHz
คุณสมบัติขาอื่นๆ
- Vin เป็น Input Voltage ของบอร์ด Arduino โดยใช้แหล่งจ่าย 5 โวลต์ จากภายนอก
- 5V เป็นเอาท์พุท ที่ผ่านการควบคุมจากบอร์ด
- 3V3 เป็น 3.3 โวลต์ ที่สร้างขึ้นจาก Regulator บนบอร์ด และให้กระแสได้สูงสุด 50 mA
- IOREF เป็นขาที่ให้ Voltage Reference กับไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อเลือกค่าแรงดันให้กับ Shield ที่มาเชื่อมต่อกับบอร์ด
หน่วยความจํา
Atmega 2560 มีหน่วยความจำ 256 KB (8 KB ใช้สำหรับ Bootloader ) นอกจากนี้ยังมีอีก 8 KB สำหรับ SRAM และ 4 KB สำหรับ EEPROM
ฟังก์ชันอื่นๆ
- External Interrupts: 2 (interrupt 0) , 3 (interrupt 1), 18 (interrupt 5), 19 (interrupt 4), 20 (interrupt 3), 21 (interrupt 2)
- PWM: 2 ถึง 13 และ 44 ถึง 46 ให้ output PWM output 8-bits
- SPI: 50 (MISO), 51 (MOSI), 52 (SCK), 53 (SS) ใช้สำหรับรองรับการสื่อสารแบบ SPI โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกันกับ ICSP header
- LED 13 : เป็น build-in LED ที่เชื่อมต่อกับขาดิจิตอล 13 เมื่อมีค่าเป็น HIGH จะทำให้ LED ติด , แต่เมื่อเป็น LOW จะทำให้ LED ดับ
- TWI : 20 (SDA) and 21 (SCL). รองรับการเชื่อมต่อแบบ TWI (I2C)
- บอร์ด MEGA 2560 มี 16 อินพุทอนาล็อก แต่ละขาให้ความละเอียด 10 bits
- AREF. แรงดันอ้างอิง สำหรับอินพุทอนาล็อก
- Reset ใช้ในการ reset ไมโครคอนโทรลเลอร์
การเลือกใช้งานขาต่างๆ ของ Arduino MEGA :
Arduino MEGA มีขาอินพุต / เอาต์พุตดิจิตอลรวม 54 รายการ ขาอินพุต / เอาท์พุตดิจิตอลสามารถรับสัญญาณดิจิตอลหรือถ่ายโอนสัญญาณดิจิตอล ขา 0 ชื่อ Rx และ ขา 1 ที่ชื่อ Tx คือขาที่รับและส่งของ UART (Universal Asynchronous Receiver และ Transmitter) ตามลำดับ
ขา 14, 16, 18 และขา 15, 17, 19 ก็เป็น Tx และ Rx ตามลำดับดังนั้นจึงมีทั้งหมดสี่ UARTS บนบอร์ด Arduino MEGA และมีขา PWM (การปรับความกว้างพัลส์) ทั้งหมด 15 ขา
เรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติม ตามลิงค์บทความด้านล่าง