“Hello World!” โปรแกรมแรกภาษา C++


ในตัวอย่างนี้ เราจะเรียนรู้การสร้างโปรแกรมอย่างง่ายที่ชื่อว่า “Hello World” ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C++

“Hello World!” เป็นโปรแกรมง่ายๆ ที่แสดงข้อความเอาท์พุต Hello World! บนหน้าจอ. เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ง่ายมาก จึงมักใช้เพื่อแนะนำภาษาการเขียนโปรแกรมใหม่ให้กับมือใหม่


เขียนโค้ดดังนี้

#include <iostream>

int main() 
{
    
    std::cout << "Hello World!";
    return 0;

}


คลิกที่ Local Windows Debugger เพื่อทดสอบการทำงาน

"Hello World!" โปรแกรมแรกภาษา C++


ผลลัพธ์การทำงาน : แสดงข้อความเอาท์พุต Hello World! บนหน้าจอ.


มาดูกันว่า C++ “Hello World!!” โปรแกรมทำงานอย่างไร


โครงสร้างภาษา C++


@ 1. ส่วนหัวของโปรแกรม


#include เป็นคำสั่ง preprocessor ที่ใช้ในการรวมไฟล์ในโปรแกรมของเรา โดยนำเข้าไลบรารี่มาตฐานของภาษา C++ ในตัวอย่างด้านล่างได้นำเข้าไลบรารี่ iostream ซึ่งจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันการทำงานเกี่ยวกับ Input และ Output

มีรูปแบบดังนี้

#include <เฮดเดอร์ไฟล์>


ส่วนหัวของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า เฮดเดอร์ไฟล์ (Header File) เป็นการเรียกใช้เฮดเดอร์ไฟล์ จากไลบรารี่ของ ภาษา C++ เข้ามาร่วมใช้งานภายในโปรแกรม โดยไฟล์เฮดเดอร์เป็นไฟล์ที่ใช้ในการรวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ของโปรแกรม C++ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้คือ ไฟล์ iostream


เฮดเดอร์ไฟล์ หรือ iostream อยู่ที่ไหน?


ถ้าเขียนภาษา C++ ด้วย Visual Studio ในคอมเครื่องนี้อยู่ที่

C:\Program Files (x86)\Microsoft Visual Studio\2019\Community\VC\Tools\MSVC\14.29.30037\include\iostream


เมื่อเปิดไฟล์ iostream ดูข้อมูลในไฟล์ จะพบ _STD_BEGIN เรียกว่าเนมสเปซ (Namespace) ชื่อ std และมี อ็อบเจกต์ เช่น cin , cout อยู่ภายใน เนมสเปซ std ซึ่งเราจะใช้ อ็อบเจกต์ cout ทำหน้าที่ในการแสดงข้อความเอาท์พุต บนหน้าจอ. 



@ 2. ส่วนฟังก์ชั่น


มีรูปแบบดังนี้

ชนิดข้อมูลที่จะส่งกลับ ชื่อฟังก์ชั่น(พารามิเตอร์)
int main() 


#ชนิดข้อมูลที่จะส่งกลับ (returnType) : โปรแกรม C++ หลังจากทำงานเสร็จ จะมีการส่งค่ากลับ โดยชนิดข้อมูลที่ส่งกลับต้องตรงกัน ดังนั้น ชนิดข้อมูลที่จะส่งกลับ จึงเลือกใช้ชนิดข้อมูลเป็น int คือเลขจำนวนเต็ม

#ชื่อฟังก์ชั่น (functionName) : ชื่อฟังก์ชั่น main โดยทุกโปรแกรมอย่างน้อยจะต้องมีฟังก์ชั่น main

#พารามิเตอร์ (parameter) : พารามิเตอร์ในโปรแกรมนี้ไม่ได้ใช้จึงไม่มีค่าใดๆ คือ ()

@ 3. ส่วนการเปิดโปรแกรมและการปิดโปรแกรม


เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด {

สิ้นสุดการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด }

{
  // 4. ส่วนตัวโปรแกรม
}


@ 4. ส่วนตัวโปรแกรม


ส่วนตัวโปรแกรม ส่วนนี้เป็นส่วนในการเขียนคำสั่งต่างๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในการเขียนคำสั่ง โดยจะเขียนภายในเครื่องหมายปีกกาเปิด และ เครื่องหมายปีกกาปิด

std::cout << "Hello World!";


; คือ สิ้นสุดคำสั่งชุดนี้

“Hello World!” คือ ข้อความที่ให้แสดงซึ่งต้องอยู่ในเครื่องหมายคำพูด

<< คือ โอเปอเรเตอร์ การส่งข้อมูลจากด้านซ้ายไปยังด้านขวา คือ ส่งข้อความ “Hello World!” ไปยัง อ็อบเจ็กต์ cout ให้แสดงข้อความ Hello World! ที่หน้าจอ

std::cout คือ คลาส cout  สืบทอดมาจาก เนมสเปซ std  และ เนมสเปซ std อยู่ในส่วนหัวของโปรแกรม หรือที่เรียกว่า เฮดเดอร์ไฟล์ (Header File) ชื่อ iostream



@ การส่งค่ากลับ


มีรูปแบบดังนี้


ชนิดข้อมูลที่จะส่งกลับ ชื่อฟังก์ชั่น(พารามิเตอร์)

{

  องค์ประกอบของฟังก์ชั่น

  return ข้อมูลที่จะส่งกลับ

}
return 0;


เพื่อเป็นการตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม เราจึง Return หรือส่งค่ากลับ หลังจากทำงานเสร็จสิ้น โดยให้ส่งค่า 0 ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็ม กลับไปที่ ชนิดข้อมูลที่จะส่งกลับ ในโปรแกรมนี้คือ int โดยคำสั่งจะเป็นสถานะ “Exit” ของโปรแกรม พูดง่ายๆ โปรแกรมจบลงด้วยคำสั่งนี้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *